บรรณอยากบอก : กลิ่นปากบอกความผิดปกติของร่างกายได้
———————————


1. ภาวะมีกลิ่นปากคืออะไร ?
โดยปกติแล้วทุกคนมีกลิ่นปากเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะหลังจากรับประทานกระเทียม หัวหอม หรืออาหารที่มีกลิ่นแรงอื่นๆ แต่กลิ่นปากที่ไม่หายไป หรือที่เรียกว่า ‘กลิ่นปากเรื้อรัง’ ซึ่งอาจหมายความว่าคุณมีปัญหาสุขภาพช่องปาก หรือมีภาวะที่ส่งผลต่อส่วนอื่นของร่างกาย


2. สาเหตุส่วนใหญ่ของกลิ่นปากคืออะไร?
คือสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม เช่น การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และการทำความสะอาดฟันเป็นประจำ แบคทีเรียที่เป็นอันตรายจะบุกรุกช่องปาก และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากหลายอย่าง เช่น ภาวะมีกลิ่นปาก ฟันผุ และโรคเหงือก
นอกจากนี้ ภาวะมีกลิ่นปากยังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปากแห้ง มะเร็งช่องปาก โรคกรดไหลย้อน นิ่วในต่อมทอนซิล โรคเหงือก การติดเชื้อในจมูก คอ หรือปอด โรคเบาหวาน โรคตับหรือโรคไต กลุ่มอาการโจเกรน อาหารและเครื่องดื่ม สูบบุหรี่ ยา เป็นต้น


3. รักษาภาวะมีกลิ่นปาก
การรักษาภาวะมีกลิ่นปากขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา เช่น หากกลิ่นปากเกิดจากสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี การทำความสะอาดฟัน และปรับปรุงสุขอนามัยช่องปากจะช่วยได้ แต่หากภาวะมีกลิ่นปากเป็นอาการของภาวะอื่นในร่างกายของคุณ ควรพบทันตแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้อง


4. ป้องกันภาวะมีกลิ่นปาก
สุขอนามัยช่องปากที่เหมาะสม คือวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้ลมหายใจของคุณมีกลิ่นที่สะอาด และสดชื่น โดยมีวิธี ดังนี้
แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง อย่างน้อย 2 นาที และใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง พร้อมทั้งทำความสะอาดลิ้นด้วยแปรงหรือที่ขูดลิ้น
ใช้น้ำยาบ้วนปากต้านแบคทีเรียที่ปราศจากแอลกอฮอล์
ควรพบทันตแพทย์ ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพและทำความสะอาดฟัน
– ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยป้องกันปากแห้ง
– เพิ่มการผลิตน้ำลายโดยใช้หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล หรือลูกอมปราศจากน้ำตาล
– หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และงดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ปากของคุณแห้งได้

ดังนั้น หากเริ่มสังเกตุตัวเองแล้วพบว่ามีกลิ่นปาก ควรรีบหาสาเหตุและแก้ปัญหาโดยด่วน เพื่อป้องกันการเป็นโรคอื่นๆ ที่ร้ายแรงตามมา

 

 

ที่มา : beartai